ประกันชีวิต ทำแล้วดีกว่าการทำพินัยกรรมจริงหรือ การทำพินัยกรรม คือ การจัดการทรัพย์สินที่คุณมีอยู่แล้วในขณะที่คุณมีชีวิตอยู่และส่งมอบให้บุคคลที่คุณระบุไว้ในพินัยกรรม ยกตัวอย่างเช่น คุณแอนอายุ 36 ปี มีทรัพย์สินคือบ้านหนึ่งหลัง รถยนต์หนึ่งคัน เงินฝากในบัญชีธนาคาร 1 ล้านบาท หากคุณแอนทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้น้องอ้นอายุ 4 ปี บุตรของคุณแอน น้องอ้นต้องให้ผู้ปกครองร้องขอจัดการมรดกแต่งตั้งผู้จัดการมรดกมาจัดการโอนทรัพย์สินให้เป็นของน้องอ้น ซึ่งอาจใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะตั้งผู้จัดการมรดกเสร็จสิ้น ทำให้ระหว่างที่รอการจัดการมรดกนั้น หากต้องใช้เงินในการจัดการงานศพคุณแอน ผ่อนรถ ผ่อนบ้าน ค่าเทอมน้องอ้น ค่ากินอยู่น้องอ้น หากน้องอ้นไม่สบายก็มีค่ารักษาพยาบาลน้องอ้น ซึ่งหากไม่มีเงินสดสำรองคุณคิดว่าจะเป็นปัญหามากขนาดไหน?
หากคุณแอนนำเงินบางส่วนจากรายได้ มาซื้อประกันชีวิต โดยจ่ายเบี้ยเพียงไม่กี่หมื่นบาทต่อปี ซึ่งสมมติว่าซื้อความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจำนวน 2 ล้านบาท ในกรณีที่คุณแอนเสียชีวิต ผู้ดูแลน้องอ้นรวบรวมเอกสารครบตามที่บริษัทประกันชีวิตกำหนดแล้วสามารถเบิกเงินค่าสินไหมทดแทนได้ทันที เงินส่วนนี้สามารถนำมาใช้จ่ายในการจัดการงานศพคุณแอน จ่ายค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ จ่ายค่าเทอม ค่ากินค่าอยู่น้องอ้น ค่ารักษาพยาบาลน้องอ้น ในระหว่างรอการจัดตั้งผู้จัดการมรดก ซึ่งเงินส่วนนี้คุณแอนส่งมอบให้น้องอ้นด้วยการจ่ายเบี้ยประกันเพียงไม่กี่หมื่นบาท แต่สามารถส่งมอบให้น้องอ้นได้มากถึงสองล้านบาท เปรียบเสมือนคุณแอนซื้อเงินสดลดราคา และเงินที่ได้จากการประกันชีวิตไม่ใช่ทรัพย์มรดก เจ้าหนี้คุณแอนก็ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีเอากับเงินค่าสินไหมทดแทนได้ด้วย ทำให้เงินค่าสินไหมทดแทนนี้เป็นเงินที่เป็นทุนชีวิต ทุนการศึกษาให้น้องอ้นได้จริงๆ ต่างกับเงินในบัญชีเงินฝากของคุณแอน ซึ่งเจ้าหนี้คุณแอนสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้
การทำประกันชีวิตดีกว่าการทำพินัยกรรมค่ะ
สามารถเลือกประกันชีวิตที่เหมาะกับคุณได้โดยศึกษาเพิ่มเติมจากบทความในลิ้งนี้นะคะ
ทำประกันชีวิตอย่างไรให้เหมาะกับเรา
บทความโดย ทนายจิรารัตน์ พรเทวบัญชา
นิติศาสตร์บัณฑิต, นิติศาสตร์มหาบัณฑิต ธรรมศาสตร์
เนติบัณฑิตไทย
ตัวแทนประกันชีวิตคุณวุฒิ mdrt 2022